วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติการทำขนมถ้วย

       
                  ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยตั้งเเต่โบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งเเต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมังคลเเละงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวาน อย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน    

                    
                    ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่เเสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีตในการทำตั้งเเต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืนพิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรัประทาน   ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมเเต่ล่ะชนิดซึ่งยังเเตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ


                  
                    ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน ๒ ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก
   
   
่  
   ขนมถ้วยตะไล ที่อร่อย นั้น ตัวขนมจะมีรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดและไม่แข็งกระด้าง ส่วนหน้าขนมต้องมีรสมันด้วยกะทิและมีรสเค็มนิดหน่วย และที่อำเภอท่ามะกา นางยิ่วฟ้า วงษ์ศิลป์ เป็นผู้ที่มีฝีมือในการทำขนมถ้วยตะไล ได้อร่อยมากถ้าอยากชิม ประมาณ สิบเอ็ดโมงเช้า นางยิ่วฟ้า จะเข็นรถมาจอดขายอยู่ที่ขางธนาคารกรุงไทย สาขาท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น