วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                     บทที่2
                                          เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจเตยหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้  ใบ
สรรพคุณ :
  • ใบสด
    -
      ตำพอกโรคผิวหนัง
    -
      รักษาโรคหืด
    -
      น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
    -
      ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.            ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.            ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.            ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น




 ดอกอัญชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.)
เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน (เหนือ) เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา

สรรพคุณ


  • ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
  • เมล็ด เป็นยาระบาย
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
          ภาคผนวก
                                   


                                         
                                                         
บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลงาน

สรุป
   การทำโครงงานขนมถ้วยสีสวยครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นของหวานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
1.            สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.            ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.            นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.            ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
           ในการทำโครงงานเรื่องขนมถ้วยในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.            รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.            ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป
3.            นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.            ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำตะโก้สีสวย

 ข้อเสนอแนะ
เคล็ดลับความอร่อย

ขนมถ้วยตะไล ที่อร่อย นั้น ตัวขนมจะมีรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดและไม่แข็งกระด้าง ส่วนหน้าขนมต้องมีรสมันด้วยกะทิและมีรสเค็มนิดหน่อย
บทที่ 4
ผลการเรียนรู้
            
จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำขนมถ้วยผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำ  ขนมที่ถูกวิธี และได้ขนมถ้วยที่อร่อยด้วยวิธีข้างล่างนี้
วัสดุอุปกรณ์
1.            ช้อน

2.            เตาถ่าน


3.            จาน ชาม

4.            หม้อ

5.            ตะแกง

6.            สาก

7.            ครก

8.             มีด

9.            เขียง
      
ส่วนผสม
                        1.น้ำกะทิ

                    2.ใบเตย


                        3.น้ำใบเตย

                        4.น้ำเปล่า

                       5.น้าตาลปิ๊บ


                       6.แป้งข้าวเจ้า
                       7.แป้งเท้ายายม่อม

                       8.น้ำดอกอัญชัน



                       9.ดอกอัญชัน

บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
         วัสดุอุปกรณ์
  1. ปากกา
  2. ดินสอ
  3. ยางลบ
  4. ไม้บรรทัด
  5. สมุด
  6. ลิขวิด
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. แบ่งกิจกรรตามหน้าที่
  2. สืบค้นหาข้อมูล
  3. รวบรวมข้อมูล
  4. จัดทำเป็นรูปเล่มที่สวยงาม
  5. จัดทำเป็นโครงงานนำเสนอ



วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า ขนมถ้วยเฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย การทำขนมถ้วยยังเป็นการอนุรักษ์ขนมไทย ให้คนรุ่นหลังสืบทอดกันตลอดไป

จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.            เพื่ออนุรักษ์ขนมหวานไทย
2.            เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.            เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.            เพื่อฝึกการทำขนมถ้วย
5.            เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำขนมไทย
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์ขนมถ้วยจากขนมถ้วยธรรมดาเป็นขนมถ้วยรสต่างๆ สีธรรมชาติหรือจากสมุนไพร
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับขนมถ้วย